top of page
  • รูปภาพนักเขียนG.Cop@Edureform

ค่านิยมกับการศึกษา

อัปเดตเมื่อ 24 ก.ค. 2562

ทุกสิ่งบนโลกล้วนสัมพันธ์กัน การศึกษากับวัฒนธรรมก็เช่นกัน

การศึกษายุคแรกก็มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่วัฒนธรรมและศาสนา สมัยก่อนสถานที่เรียนของเราคือวัด

แต่วันนี้ผมไม่ได้มาพูดถึงวัฒนธรรมในแง่นั้น แต่เป็นค่านิยมในระดับครอบครัว

ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็น "วัฒนธรรม" ในระดับตัวบุคคลก็ได้


ในแต่ละครอบครัวย่อมมีค่านิยมที่แตกต่างกัน อย่างคนไทยสมัยก่อนก็นิยมให้ลูกเป็นข้าราชการ

ดั่งสํานวน "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" ซึ่งหมายความว่าอาชีพทางการค้าสู้รับราชการไม่ได้

เพราะเป็นพ่อค้าย่อมมีวันขาดทุน ในขณะที่ข้าราชการมีผู้คอยจุนเจือโดยตลอด

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนเริ่มมองที่เงินเดือนมากกว่า ค่านิยมจึงเปลี่ยน พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ

หรือวิศวกร เพราะเชื่อกันว่าเงินดีและมีชีวิตที่สุขสบายในบั่นปลาย


นอกจากนี้บางครอบครัวยังมีค่านิยมว่าวิชานั้นดีกว่าวิชานี้ เช่นบางบ้านเชื่อว่าคณิตศาสตร์สําคัญที่สุด

จึงทุ่มเทไปกับคณิตศาสตร์อย่างเดียว และสอนให้เด็กละเลยวิชาอื่น

เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับผู้เขียนมาแล้ว โดยตัวผมถูกบังคับให้เรียนพิเศษวิชานี้แทบทุกวัน

เพราะครอบครัวหวังจะให้เป็นพื้นฐานในการทําบัญชี (ซึ่งเอาจริงๆ แล้วตัวผมก็ไม่ได้สนใจในด้านนี้เลย)

และผลที่เกิดกับผู้เขียนคือตัวเองยิ่งเกลียดวิชานี้ จากทีเกลียดอยู่แล้ว ยิ่งเกลียดมากกว่าเดิมเป็นทวีคูณ


ดังนั้นผมจึงอยากฝากถึงบรรดาผูปกครองว่า อย่าพยายามลิขิตชีวิตเขาด้วยค่านิยมของคุณหรือของใตร

จงอย่าเป็นผู้ชี้นํา ครอบงําเขาด้วยความคิดของคุณ แต่ขอให้คุณเข้าใจเขา และร่วมเดินทางไปกับเขา

เคียงข้างเขาในเส้นทางที่เขาเลือกเดินเถิดนะครับ


ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Post: Blog2_Post
bottom of page