top of page
  • รูปภาพนักเขียนG.Cop@Edureform

ดอนกิโฆเต้แห่งลามันซา: เมื่ออุดมการณ์ปะทะกับความจริง

อัปเดตเมื่อ 25 มี.ค. 2563

สวัสดีครับ พบกับผม แอด G.Cop หลังจากทีเพจของเราร้างไปนาน

ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยด้วย เนื่องจากแอดทั้งสองติดธุระ (บวกกับคิดไม่ออกด้วยส่วนหนึ่ง)


วันแอดจึงขอหยิบยกข้อคิดที่ได้จากหนังสือเรื่องดอนกิโฆเต้ให้ลูกเพจได้พิจารณา

หากลูกเพจถามแอดว่า "อะไรคือดอนกิโฆเต้?" คําตอบคือ ดอนกิโฆเต้เป็นนิยายโบราณเล่มหนึ่ง


หากลูกเพจสงสัยว่านิยายเรื่องนี้จะสอนเราได้อย่างไร? แอดขอให้เรามองบุคคลของ "พระเอก" และ "พระรอง" ของเรา: อลอนโซ่ กิฆาน่า (Alonso Quijano) และ ซ่านโซ ปันซา (Sancho Panza) สองคนนี้มีฐานะทางสังคมที่แตกต่างกัน ฝ่ายหนึ่งมาจากชนชั้นขุนนางเล็กๆ ที่พอมีทรัพย์สินบาง (และก็ขายเพื่อไปซื้อนิยายอัศวินหมดเสียฉิบ)

อีกฝ่ายมาจากฐานะไพร่ธรรมดา การมองโลกจึงต่างกันคนละมุม


ในขณะตัวเอกของเรามองโลกเต็มไปด้วยความเพ้อฝันดั่งหลุดออกมาจากนิยาย

พระรองของเรานั้นมองโลกตามความเป็นจริง และไม่ลังเลใจที่จะกระทําสิ่งใดเพื่อให้ตัวเอง

อยู่รอด เช่นปล้นชิงวิ่งราว โดยที่เขาทําไปทั้งหมดก็เพื่อเอาชีวิตรอด จนกว่าตัวเองจะได้ครองเกาะที่ล้อมรอบไปด้วยนํ้า ตามที่ตัวเอกของสัญญาไว้


ในขณะที่ตัวเอกของเรามาจากชั้นชั้นสูง การดิ้นรนจึงไม่มากเท่า และดั่งที่กล่าวไปแล้วว่า

เขาอ่านแต่นิยายจนเพ้อพก เอาทุกอย่างในนิยายมาปฎิบัติ (แม้กระทั้งสํานวนภาษา)

แต่เขาก็เชื่ออย่างสุดใจว่าสิ่งที่เขาทํานั้นเกิดประโยชน์ต่อโลก


อีกด้านหนึ่งคือครอบครัวของตัวเอกที่ต้องหาทางตามตัวท่านผู้เฒ่ากลับบ้าน

ตรงนี้จะมีฉากเผาห้องสมุดในบทที่ 6 ซึ่งหลานสาวของตัวเอกนิมนต์บาทหลวงมาให้คัดแยก

หนังสือ ประเด็นที่ผู้แต่ง (เซบันเตส) ต้องการจะสื่อในบทนี้ก็คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งใดดี

สิ่งใดเลว ยิ่งตอนท้ายบทที่บาทหลวงพิจารณาอย่างลวกๆ ทําให้หนังสือดีๆ ต้องลงไปเป็นเชื้อไฟโดยใช่เหตุ


รายละเอียดอื่นๆ ขอให้ลูกเพจไปติดตามหาเอาเองนะครับ เพราะหนังสือมันหนา

หากจะให้แอดมินสรุปให้ฟังก็คือนิยายนี้เป็นภาพเปรียบของอุดมการณ์ (ดอนกิโฆเต้) ปะทะไหวพริบ (ซ่านโซ่) และมุมมองของสังคม (บาทหลวง)


ลูกเพจคิดว่าตัวเองเป็นคนแบบใดกันครับ


(ภาพประกอบ: ปก "ดอนกิโฆเต้" ภาคหนึ่ง ฉบับพิมพ์ภาษาไทย)


-แอด G.Cop@Edureform.com



ดู 94 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Post: Blog2_Post
bottom of page